เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ทำงานอย่างไร ?

ในปัจจุบันธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้สติ๊กเกอร์บาร์โค้ดหรือฉลากเพื่อติดที่ตัวสินค้า และหากว่าสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดที่ต้องใช้มีจำนวนมากก็จำเป็นต้องมีเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดไว้ใช้งานเองเพื่อความสะดวก ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า สำหรับบทความของเราในวันนี้เรามาดูหลักการทำงานและขั้นตอนการทำงานของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดกันค่ะ

การทำงานของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบคือ แบบที่พิมพ์โดยใช้ความร้อนโดยตรงหรือที่เรียกว่า Direct Thermal ซึ่งเป็นแบบที่ไม่ต้องใช้หมึกริบบอน และแบบที่พิมพ์ผ่านหมึกริบบอนหรือที่เรียกว่า Thermal Transfer มาดูความแตกต่างระหว่าง Direct Thermal และ Thermal Transfer กันค่ะ

1. เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแบบ Direct Thermal คือการพิมพ์ที่ไม่ต้องใช้หมึกริบบอน เป็นการพิมพ์ลงบนกระดาษความร้อน โดยใช้หัวพิมพ์ (print head) ซึ่งมีตัวกำเนิดความร้อนทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนมาที่กระดาษ ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและทำให้สีที่กระดาษเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสีที่เปลี่ยนนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของกระดาษด้วย ดังนั้นการพิมพ์ Direct Thermal จำเป็นต้องใช้กระดาษสติ๊กเกอร์แบบ Direct Thermal เท่านั้น โดยปกติการพิมพ์แบบนี้จะใช้สำหรับชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานสั้น เพราะข้อมูลบนตัวสติ๊กเกอร์จะหายไปตามกาลเวลา ส่วนมากมักนำมาใช้กับสินค้าบริโภค เช่น ผัก, ผลไม้

2. เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแบบ Thermal Transfer คือเทคโนโลยีการส่งผ่านความร้อนไปยังหมึกริบบอน และหมึกริบบอนจะถ่ายทอดไปสู่พื้นผิวกระดาษอีกทีหนึ่ง หมึกริบบอนที่ใช้นี้จะเป็นแผ่นบาง ซึ่งประกอบด้วย wax, wax/resin หรือ resin จะทำหน้าที่เป็นหมึกเมื่อโดนความร้อนก็จะเปลี่ยนเป็นของเหลวและจะมาติดบนตัวสติ๊กเกอร์ ไม่เหมือนกับ Direct Thermal และจะไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี โดยการพิมพ์แบบ Thermal transfer ส่วนมากใช้กับสินค้าประเภท เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น

เครื่องพิมพ์แบบ Thermal transfer นี้จะได้รับความนิยมมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบ Direct Thermal เพราะข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนตัวสติ๊กเกอร์นั้นจะอยู่ได้ทนทาน และนานกว่า นั่นเอง

เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดก็เหมือนกับเครื่องพิมพ์ทั่วไป คือจะต้องเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อให้สั่งพิมพ์ได้ นอกจากนั้นยังต้องมีโปรแกรมสำหรับการออกแบบหรือเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลอื่นเพื่อให้สามารถดึงข้อมูลมาพิมพ์บาร์โค้ดได้ เมื่อเราทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเรียบร้อยแล้ว ตรงส่วนของเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดเราก็จะต้องเปิดเครื่องและใส่ สติ๊กเกอร์ หรือ ฉลากให้เรียบร้อย หากเป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้หมึกริบบอนจำเป็นต้องตรวจเช็คเรื่องหมึกริบบอนว่าใส่เรียบร้อยดีแล้ว เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ให้เราเลือก preview ดูหน้าตาของฉลากบาร์โค้ดที่หน้าจอโปรแกรมอีกครั้ง หากมั่นใจว่าถูกต้องและไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ก็สามารถสั่งพิมพ์ได้ เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดจะทำงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะพิมพ์ได้ตามจำนวนที่ต้องการ เมื่อเราได้เริ่มต้นใช้งานเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด พิมพ์บ่อยจนเกิดความชำนาญและทำความเข้าใจหลักการและขั้นตอนต่างๆ แล้วการใช้เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

สำหรับเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่ทาง สมาร์ท ไอเดนทิฟาย จำหน่ายนั้นก็คือ ZEBRA เครื่องพิมพ์บาร์โค้ดแบบ Thermal Transfer มีความละเอียด 203 dpi, 300 dpi และเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดบางรุ่นของ ZEBRA ยังสามารถติดตั้ง module RFID เพื่อไว้สำหรับเขียนข้อมูลลง RFID Tag ได้ ZEBRA barcode printer เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตามท้องตลาด มีราคาที่เหมาะสม คุณสามารถไว้วางใจในคุณภาพได้ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์สติ๊กเกอร์สำหรับติดสินค้า, รายละเอียดสินค้า, การทำสติ๊กเกอร์ สคบ., การพิมพ์ฉลากสินค้า โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินค้าได้ที่ Barcode Printer & Consumable และเรายังมีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์โดยตรงคอยให้คำปรึกษากับคุณ 

Visitors: 121,077